ระบบบัตรโดยสาร

ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ
รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูนำระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการที่รวดเร็วแก่ผู้โดยสาร โดยปัจจุบันได้แบ่งชนิดและประเภทของบัตรโดยสารตามความเหมาะสมในการใช้งานได้ดังนี้
บัตรโดยสารระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู (แบบบาง)ได้แก่
  • บัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียว
บัตรแรบบิท ได้แก่
  • บัตรแรบบิท สำหรับบุคคลทั่วไป
  • บัตรแรบบิท สำหรับนักเรียน นักศึกษา
  • บัตรแรบบิท สำหรับผู้สูงอายุ
1
อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

1. เครื่องจัดเตรียมข้อมูลบัตรโดยสารเฉพาะบุคคล (Card Personalization Device หรือ CPD)

ใช้สำหรับการพิมพ์และปรับเปลี่ยนข้อมูลส่วนบุคคลของบัตรพนักงานของแต่ละคน โดยเครื่องนี้สามารถพิมพ์ลายพิเศษลงบนหน้าบัตรได้

2. เครื่องจัดเตรียมข้อมูลบัตรโดยสาร (Card Initialization Device หรือ CID)

ใช้ในการจัดเตรียมข้อมูลลงในบัตรโดยสารสมาร์ทพาสที่ผ่านการพิมพ์ลายมาแล้วจากโรงงานผลิตบัตร โดยเครื่องจะลบข้อมูลตั้งต้นของบัตรโดยสารที่ถูกใส่มาจากโรงงานผลิต และใส่โครงสร้างข้อมูลของระบบสมาร์ทพาสเฉพาะของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูลงไป เพื่อให้บัตรโดยสารนั้นสามารถใช้เข้า-ออกระบบของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูได้

3. เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสาร

เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสาร (Ticket Vending Machine หรือ TVM)

จำหน่ายเฉพาะบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียวเท่านั้น โดยรับชำระค่าโดยสารด้วยเหรียญ ธนบัตรและรหัส QR โดยเครื่องจะมีหน้าจอระบบสัมผัสสำหรับเลือกสถานีปลายทาง ผู้โดยสารสามารถเลือกซื้อบัตรได้สูงสุด 10 ใบต่อหนึ่งรายการ และสามารถเลือกเปลี่ยนสถานีปลายทางได้ก่อนชำระเงิน โดยรับชำระค่าโดยสารด้วยเหรียญ 1, 2, 5 และ 10 บาทและธนบัตร 20, 50, 100, 500 บาทและสามารถเติมเงินในบัตรโดยสารประเภทเติมเงินได้

4. เครื่องวิเคราะห์/ออกบัตร (Point Of Sales หรือ POS)

เครื่องวิเคราะห์/ออกบัตรนี้ ใช้สำหรับการออกบัตรโดยสารสมาร์ทพาส (แบบบาง) ประเภทเที่ยวเดียวและประเภท 1 วัน เติมมูลค่าการเดินทาง หรือเติมจำนวนเที่ยวการเดินทางในบัตรแรบบิท คืนมูลค่าการเดินทาง และวิเคราะห์สถานะของบัตรโดยสาร โดยจะติดตั้งอยู่ในห้องจำน่ายตั๋วโดยสารทุกสถานี

5. ประตูอัตโนมัติ (Automatic Gate หรือ AG)

ทำหน้าที่ในการตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลการเดินทางเข้า - ออกระบบของบัตรโดยสาร และใช้ควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่ส่วนชำระเงินของผู้โดยสาร 
มีบานกั้นเปิด-ปิดได้จะติดตั้งตามแนวทางเดินในแต่ละสถานี สามารถตรวจสอบบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียว และบัตรแรบบิทได้ ประตูอัตโนมัติ สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทคือ

  • ประตูอัตโนมัติแบบปกติ
  • ประตูอัตโนมัติแบบกว้าง ได้รับการออกแบบให้ทางเข้ามีความกว้างเป็นพิเศษ (90 เซนติเมตร) เพื่อรองรับคนพิการและ ผู้โดยสารพร้อมกระเป๋าเดินทาง

6. ศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลระบบสมาร์ทพาส (Station Computer หรือ SC)

เป็นอุปกรณ์ที่รวมการแลกเปลี่ยนข้อมูลของอุปกรณ์ทั้งหมดบนสถานี ได้แก่ ประตูอัตโนมัติ และเครื่อง วิเคราะห์/ ออกบัตร โดยทำการเชื่อมต่อกันผ่านระบบเครือข่ายสถานี และส่งข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเพื่อรวบรวมข้อมูลและจัดทำรายงาน นอกจากนี้ ยังใช้ในการควบคุมและตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ระบบจัดเก็บค่าโดยสารบนสถานีทุกตัว

7. คอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง (Central Computer หรือ CC)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ บนสถานีที่เกี่ยวข้องกับระบบบัตรโดยสาร หรือระบบจัดเก็บค่าโดยสาร พร้อมทั้งจัดทำรายงาน

1