ระบบรถไฟฟ้า

รถไฟฟ้าสายสีชมพู (Innovia Monorail 300)
รถไฟฟ้าสายสีชมพูมีทั้งหมด 42 ขบวน แต่ละขบวนประกอบด้วยตู้โดยสาร 4 ตู้ โดยมีการจัดเรียงตู้โดยสาร ดังนี้ A1-C1-D1-B1 รถไฟฟ้าออกแบบให้สามารถวิ่งได้ 2 ทิศทาง และสามารถต่อขยายเพิ่มเติมตู้โดยสารได้ถึง 7 ตู้ต่อขบวน โดยในแต่ละตู้โดยสารขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าซื่งติดตั้งในแต่ละชุดโบกี้ และวิ่งบนคานทางวิ่งด้วยล้อยาง ลักษณะเฉพาะของรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีเหลืองมีลักษณะแตกต่างกันกับรถไฟฟ้าสายอื่นๆ เนื่องจากเป็นระบบขับเคลื่อนแบบไร้คนขับและระบบอัตโนมัติโดยมีการควบคุมและดูแลผ่านระบบอานัติสัญญาณในขณะให้บริการ
1
ระบบขับเคลื่อนและระบบไฟฟ้าเสริมในแต่ละตู้โดยสารรับไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์จากรางจ่ายไฟฟ้าและจ่ายให้ตู้ควบคุมผ่านทางขารับกระแสไฟฟ้าซึ่งสัมผัสกับรางจ่ายไฟฟ้า เมื่อตู้ควบคุมได้รับไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ จากนั้นจะส่งไปที่ระบบขับเคลื่อนและระบบไฟฟ้าเสริมตามลำดับ สำหรับระบบไฟฟ้าเสริม ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรง 750 เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส 380 โวลท์ ความถี่ 50 เฮิร์ต, ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส 220 โวลท์ ความถี 50 เฮิร์ต และไฟฟ้ากระแสตรง 110 โวลท์ และไฟฟ้ากระแสตรง 24 โวลท์ ตามลำดับ เพื่อจ่ายให้กับระบบปรับอากาศ และระบบระบายความร้อนของอุปกรณ์ต่างๆ ของรถไฟฟ้า, เต้ารับไฟฟ้าและโหลดไฟฟ้าแรงดันต่ำต่างๆ เช่น ชาร์ตแบตเตอรี่, ระบบแสงสว่าง และระบบควบคุมต่างๆ บนขบวนรถไฟฟ้า ตามลำดับ
รถไฟฟ้า 1 ขบวนแบบ 4 ตู้โดยสารมีความยาวรวมทั้งหมด 50.474 เมตร, ความกว้างของตู้โดยสารโดยรวม (ขณะเปิดประตู) 3.162 เมตร และความกว้างของตู้โดยสารโดยรวมขณะปิดประตู 3.142 เมตร และความสูงโดยรวมจากคานทางวิ่งจนถึงเสาสัญญาณควบคุมบนหลังคาเท่ากับ 3.120 เมตร ในขณะที่ผู้โดยสารนั่งเต็มเก้าอี้ทุกตัว รวมกับจำนวนผู้โดยสารที่ยืนในอัตรา 8 คนต่อตารางเมตร สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารในแต่ละตู้โดยสาร ดังนี้ ตู้ท้าย (A1 หรือ B1) และตู้กลาง (C1 หรือ D1) รองรับได้ตู้ละ 178 คน และ 191 คนตามลำดับ รวมทั้งขบวบหรือ 4 ตู้โดยสาร สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารได้ทั้งหมด 738 คน ในส่วนของตู้โดยสาร ตู้ท้าย (A1 หรือ B1) ประกอบด้วยเก้าอี้ตู้ละ 14 ที่นั่ง และ ตู้กลาง (C1 หรือ D1) ตู้ละ 16 ที่นั่ง หรือ 60 ที่นั่งต่อขบวน ระบบประตูผู้โดยสารเป็นแบบบานเลื่อน โดยแขวนติดตั้งภายนอกขบวนรถไฟฟ้า ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ทั้งหมด 8 ประตู ต่อด้านในแต่ละขบวนรถไฟฟ้า โดยมีความกว้างเท่ากับ 1.600 เมตรขณะเปิด และสูงเท่ากับ 1.930 เมตร โครงสร้างของตัวรถไฟฟ้าสร้างจากอะลูมิเนียมน้ำหนักเบาสำหรับส่วนหลังคา ผนังด้านข้าง ผนังด้านท้าย และโครงด้านล่างตัวรถไฟฟ้าสร้างด้วยเหล็กเชื่อมประกอบเข้าด้วยกัน
1
แต่ละตู้โดยสารประกอบด้วยชุดโบกี้จำนวน 2 ชุด โดยแต่ละชุดโบกี้มีล้อรับน้ำหนัก 2 ล้อ เพลาเดี่ยว ล้อประคอง 6 ล้อ ทำหน้าที่คร่อม และประคองให้ตู้โดยสารเคลื่อนที่ไปตามคานทางวิ่งตลอดสายทาง ระบบขับเคลื่อนประกอบด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าแบบขั้วแม่เหล็กถาวรต่อเข้ากับชุดเฟืองเกียร์ที่ติดตั้งบนโครงสร้างโบกี้เพื่อขับเคลื่อนล้อรับน้ำหนักให้วิ่งไปตามคานทางวิ่ง ซึ่งด้วยการออกแบบชุดโบกี้ดังกล่าว ทำให้ INNOVIA Monorail 300 เป็นรถโมโนเรลที่มีความสูงของพื้นรถต่ำ ดังแสดงละเอียดลักษณะตามรูปภาพ
1
ข้อมูลและรายละเอียดส่วนประกอบต่างๆ ของขบวนรถไฟฟ้า
  • เสาค้ำ ห่วง และราวจับต่างๆ ด้านในขบวนรถไฟฟ้าถูกออกแบบไว้เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถใช้จับยึดขณะโดยสารบนขบวนรถแต่ละตู้ เพื่อให้ผู้โดยสารยืนได้อย่างปลอดภัย และสามารถเอื้อมถึง
  • จัดเตรียมพื้นที่สำหรับจอดรถเข็นสำหรับผู้พิการ และเข็มขัดนิรภัยเพื่อใช้ยึดกับรถเข็นเพื่อป้องกันการเคลื่อนไหว บริเวณตู้ท้ายขบวนทั้ง 2 ฝั่ง (ตู้ A1 และ B1)
  • เครื่องตรวจจับควัน มีการติดตั้งเครื่องตรวจจับควันในแต่ละตู้โดยสาร
  • มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดในแต่ละตู้ เพื่อดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสาร
  • มีการติดตั้งถังดับเพลิงในแต่ละตู้ ได้แก่บริเวณใต้แผงควบคุมรถไฟฟ้า บริเวณใต้เก้าอี้นั่งแบบแถว 4 ที่นั่ง เพื่อเข้าถึงได้ง่ายและใช้งานได้สะดวก
  • บันไดฉุกเฉิน ติดตั้งไว้บริเวนตู้กลางในแต่ละขบวนรถไฟฟ้า (C1 และ D1) กรณีที่จะต้องทำการอพยพด้วยตัวเองกรณีฉุกเฉิน
  • อุปกรณ์สื่อสารสำหรับผู้โดยสารกับศูนย์ควบคุมรถไฟฟ้ากรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยติดตั้งไว้ 2 ชุด แยกเป็นฝั่งละ 1 ชุด ในแต่ละตู้โดยสาร
  • ป้ายบอกปลายทางและข้อความพิเศษ โดยติดตั้งไว้ตู้ท้ายขบวนทั้งสองฝั่ง (A1 และ B1) เพื่อแจ้งข้อมูลการเดินทางให้กับผู้โดยสารทราบ
  • ป้ายไฟวิ่งเพื่อบอกสถานะสถานีปัจจุบัน และตำแหน่งของสถานีต่างๆ ระหว่างให้บริการเพื่อให้ผู้โดยสารมีความสะดวกในการเดินทาง และใช้เป็นข้อมูลการเดินทาง รวมถึงสถานะการใช้งานของประตู โดยติดตั้งไว้บริเวณด้านบนของประตูผู้โดยสาร
  • หน้าต่างระบายอากาศกรณีฉุกเฉิน ผู้โดยสารสามารถเปิดใช้งานได้ในกรณีฉุกเฉิน โดยติดตั้งไว้ทุกๆ ตู้โดยสาร
  • ระบบเบรคใช้ระบบควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิค เบรคด้วยแรงสปริง คลายเบรคด้วยแรงดันน้ำมัน โดยการออกแบบคำนึงถึงการป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น
  • ระบบหล่อเย็น ใช้สำหรับหล่อเย็นระบบขับเคลื่อน และระบบไฟเสริมต่างๆ
  • ระบบปรับอากาศ ถูกติดตั้งในแต่ละตู้โดยสาร ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิภายในห้องผู้โดยสารและความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ระบบทำความเย็นใช้น้ำยาชนิด R407C